วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

การดูแลสุขภาพของวัยรุ่น

กรุงเทพโพลล์: วัยรุ่นกับการดูแลสุขภาพ
ผลสำรวจเรื่อง วัยรุ่นกับการดูแลสุขภาพ

          ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจเรื่องวัยรุ่นกับการดูแลสุขภาพ
เนื่องในวันสาธารณสุขแห่งชาติ 27 พฤศจิกายน พบวัยรุ่นในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพคือ นอนดึก กินอาหารฟาสท์ฟู้ด ใช้ช้อนและหลอดดูดน้ำร่วมกับผู้อื่น ขณะที่ 1 ใน 4 ระบุว่ามีปัญหาความเครียด และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยโรคร้ายแรงที่วัยรุ่นกังวลว่าตนเองมีความเสี่ยงจะเป็นมากที่สุดคือโรคมะเร็ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. พฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพตนเองของวัยรุ่นในปัจจุบัน พบว่า วัยรุ่นทั้งเพศหญิงและเพศชายมีพฤติกรรมนอนดึก และพักผ่อนน้อย มากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ช้อนตักอาหารร่วมกับผู้อื่นโดยไม่ใช้ช้อนกลาง และชอบกินอาหาร ฟาสท์ฟู้ด มีรายละเอียดดังนี้


พฤติกรรม

เพศหญิง (ร้อยละ)
เพศชาย (ร้อยละ)
เฉลี่ยรวม(ร้อยละ)

ใช่

ไม่ใช่

ใช่

ไม่ใช่

ใช่

ไม่ใช่
นอนดึก พักผ่อนน้อย    
67.0
33.0
66.1
33.9
66.5
33.5
ใช้ช้อนตักอาหารโดยไม่ใช้ช้อนกลาง
52.8
47.2
52.2
47.8
52.5
47.5
กินอาหารฟาสท์ฟู้ด
51.8
48.2
50.7
49.3
51.3
48.7
ใช้หลอดดูดน้ำร่วมกับผู้อื่น
54.2
45.8
48.0
52.0
51.2
48.8
มีเรื่องเครียดบ่อยๆ
30.6
69.4
24.2
75.8
27.5
72.5
ดื่มเหล้า / เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
14.2
85.8
33.9
66.1
23.9
76.1
เที่ยวกลางคืน
11.8
88.2
25.5
74.5
18.6
81.4
สูบบุหรี่
5.5
94.5
23.2
76.8
14.2
85.8
อดอาหาร
14.0
86.0
8.4
91.6
11.2
88.8
กินยาลดความอ้วน
5.0
95.0
1.9
98.1
3.5
96.5

2.ความคิดเห็นของวัยรุ่นต่อการให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของตัวเองเมื่อเปรียบเทียบกับเรื่องอื่น

- ให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องอื่น                    ร้อยละ 24.2
- ให้ความสำคัญพอๆ กับเรื่องอื่น                    ร้อยละ 65.6
- ให้ความสำคัญน้อยกว่าเรื่องอื่น                    ร้อยละ 10.2
                 
3. เมื่อถามวัยรุ่นถึงวิธีการทำให้ตัวเองดูดี พบว่า วัยรุ่นเพศหญิงใช้วิธี พักผ่อนให้เพียงพอมากที่สุด รองลงมาคือกินอาหารที่มีประโยชน์ ทำจิตใจให้ผ่องใสและ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่วัยรุ่นเพศชายใช้วิธี กินอาหารที่มีประโยชน์มากที่สุด รองลงมาคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

วิธีทำให้ตัวเองดูดี
เพศหญิง (ร้อยละ)
เพศชาย (ร้อยละ)
เฉลี่ยรวม (ร้อยละ)
เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
10.3
9.1
19.4
พักผ่อนให้เพียงพอ
10.4
8.6
19.0
ทำจิตใจให้ผ่องใส
8.9
6.0
14.9
ไม่ดื่มเหล้า/ไม่สูบบุหรี่
7.9
6.6
14.5
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
5.2
8.7
13.9
กินอาหารเสริม
3.6
2.5
6.1
ดื่มเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
2.2
1.2
3.4
เข้าคลินิกรักษาสิว และผิวพรรณ
1.8
1.1
2.9
ตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ
1.6
1.0
2.6
ใช้เครื่องสำอาง
1.8
0.6
2.4
เข้าคลินิกลดความอ้วน กระชับสัดส่วน  
0.3
0.1
0.4
ทำศัลยกรรมเสริมความงาม
0.2
0.1
0.3
อื่นๆ อาทิ เข้าวัดฟังธรรม ทำความดี  
0.1
0.1
0.2
รวม
54.3
45.7
100.0

4. ความคิดเห็นในเรื่องความเสี่ยงที่ตนเองจะเป็นโรคต่างๆ  พบว่า
   
- คิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง          ร้อยละ 58.4
                โดยให้เหตุผลว่า สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีอยู่แล้ว ออกกำลังกายเป็นประจำ
                    
              - คิดว่ามีความเสี่ยง                    ร้อยละ 41.6
             โดยโรคที่คิดว่าตนเองมีความเสี่ยงมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
             (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)
      
อันดับที่ 1 โรคมะเร็ง                   ร้อยละ 8.2
(เนื่องจาก มีญาติใกล้ชิดเป็นโรคดังกล่าว ชอบทานอาหารปิ้งย่าง สูดดมควัน / สูบบุหรี่ ทานอาหารที่มีสารพิษปนเปื้อน ฯลฯ)
                    
              อันดับที่ 2 โรคกระเพาะอาหาร      ร้อยละ 5.5
(เนื่องจาก ทานอาหารไม่ตรงเวลา อดอาหารบ่อยๆ ดื่มน้ำอัดลมมาก ฯลฯ)

              อันดับที่ 3 โรคเบาหวาน               ร้อยละ 5.3
              (เนื่องจาก คนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ชอบรับประทานอาหารหวาน เป็นคนอ้วน ฯลฯ)

              อันดับที่ 4 โรคอ้วน                      ร้อยละ 4.9
              (เนื่องจาก มีพ่อแม่เป็นโรคอ้วน ระบบเผาผลาญไม่ดี กินเก่ง ฯลฯ)

              อันดับที่ 5 โรคภูมิแพ้                   ร้อยละ 2.2
              (เนื่องจาก มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ มีฝุ่นละอองในอากาศมาก คัดจมูกและจามบ่อย ฯลฯ)

รายละเอียดในการสำรวจ

          ระเบียบวิธีการสำรวจ

          การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอายุ 13-22 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองออกเป็น 34 เขต ทั้งเขตชั้นใน
ชั้นกลาง และชั้นนอกได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน   บางแค บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง วัฒนา สัมพันธวงศ์ สะพานสูง สาทร หลักสี่และห้วยขวาง จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมาย ได้กลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 1,067 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 49.2 และเพศหญิงร้อยละ 50.8
    
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error)

              ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล

ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล  :  13-16 พฤศจิกายน 2552

              วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ :  27 พฤศจิกายน 2552

ข้อมูลประชากรศาสตร์


จำนวน
ร้อยละ
เพศ


ชาย
525
49.2
หญิง
542
50.8
รวม
1067
100.00
อายุ


13 ปี 15 ปี
346
32.4
16 ปี 18 ปี
375
35.2
19 ปี 22 ปี
346
32.4
รวม
1067
100.0
การศึกษา


มัธยมศึกษาตอนต้น
309
29.0
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
391
36.6
อุดมศึกษา/ปวส.
367
34.4
รวม
1067
100.0
 
ที่มา : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์


Update 30-11-52

อัพเดทเนื้อหาโดย : อารยา สิงห์สวัสดิ์


 www.google.com